เมนู

ทั้งสองฝ่ายมีความพึงพอใจ รับประเคนจากมือยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย
บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ที่มีกายคล้ายมนุษย์ ด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว
จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทุก ๆ คำกลืน รับ
ประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
เขามีความพึงพอใจฝ่ายเดียว รับประเคนด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน
ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน รับประเคนน้ำ
และไม้ชำระฟันต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[56] ทั้งสองฝ่ายไม่มีความพึงพอใจ 1 รู้อยู่ว่าเขาไม่มีความพึงพอใจ
จึงรับประเคน 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 5 จบ

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 5


วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 5 พึงทราบดังนี้ :-
ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ในคำว่า เอกโต อวสฺสุเต นี้บัณฑิต
พึงเห็นว่า ภิกษุณีเป็นผู้มีความพึงพอใจ. แต่ในมหาอรรถกถาท่านไม่ได้กล่าว
คำว่า ฝ่ายหนึ่งมีความพึงพอใจนี้ไว้. คำนั้นสมด้วยพระบาลี. คำที่เหลือตื้น
ทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาดังนี้แล.
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 5 จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 6


เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา


[57] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
สุนทรีนันทาเป็นผู้ทรงโฉมวิไลน่าพิศพึงชม คนทั้งหลายพบนางที่ในโรงฉัน
แล้ว ต่างมีความพอใจ ถวายโภชนาหารที่ดี ๆ แก่นาง ๆ รังเกียจไม่รับประเคน
ภิกษุณีผู้นั่งรองลำดับจึงถามนางว่า แม่เจ้า เหตุไรแม่เจ้าจึงไม่รับประเคนเล่า
เจ้าค่ะ.
นางตอบว่า เพราะเขามีความพอใจ เจ้าค่ะ.
ภิกษุณีนั้นถามว่า ก็แม่เจ้ามีความพอใจด้วยหรือ.
สุ. ไม่มี เจ้าค่ะ.
ภิ. แม่เจ้า บุรุษบุคคลนั่น มีความพอใจก็ตาม ไม่มีความพอใจก็
ตาม จักทำอะไรแก่แม่เจ้าได้ เพราะแม่เจ้าไม่มีความพอใจ นิมนต์เถิด เจ้าค่ะ
บุรุษบุคคลนั้นจักถวายของสิ่งใด เป็นของเคี้ยว หรือของฉันก็ตาม แก่แม่เจ้าๆ
จงรับประเคนของสิ่งนั้นด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด เจ้าค่ะ.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า บุรุษบุคคลนั่น มีความพอใจก็
ตาม ไม่มีความพอใจก็ตาม จักทำอะไรแก่แม่เจ้าได้ เพราะแม่เจ้าไม่มีความ
พอใจ นิมนต์เถิด เจ้าค่ะ บุรุษบุคคลนั้นจะถวายของสิ่งใด เป็นของเคี้ยว.
หรือของฉันก็ตาม แก่แม่เจ้า แม่เจ้าจงรับประเคนของสิ่งนั้นด้วยมือของตน
แล้วเคี้ยวหรือฉันเถิดดังนี้เล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า